วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตรุษจีน

             ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (ตัวเต็ม: 春節, ตัวย่อ: 春节, พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ (ตัวเต็ม: 農曆新年, ตัวย่อ: 农历新年, พินอิน: Nónglì Xīnnián หนงลี่ ซินเหนียน) และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ (正月 พินอิน: zhèng yuè เจิ้งเยฺว่) และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ (ตัวเต็ม: 元宵節, ตัวย่อ: 元宵节, พินอิน: yuán xiāo jié หยวนเซียวเจี๋ย)
คืนก่อนวันตรุษจีน ตามภาษาจีนกลางเรียกว่า 除夕 (พินอิน: Chúxì ฉูซี่) หมายถึงการผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน
             ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย

ตรุษจีนในประเทศไทย

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
  • วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
    • ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย" (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
    • ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ" (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เ
กินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
    • ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
  • วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" หรือ ภาษาฮกเกี้ยน "ก้าม"(橘) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ (吉) [1] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปกรรมไทย

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปกรรมไทย

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งโบราณคดีไทย)ได้แบ่งศิลปกรรมไทยออกเป็น  8 สมัย    
แต่ถ้าเป็นบิดาแห่งศิลปะไทย คือ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์)

     ช่วงศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย (ประเทศสยาม)

เป็นช่วงที่ศิลปกรรมได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ ยังไม่บ่งบอกความเป็นไทย คือ

1. ศิลปะสมัยทวาราวดี   พ.ศ.11-16 
       ศิลปกรรมในสมัยนี้มีความเจริญอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ที่
นครชัยศรีหรือจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน มีพระประโทนที่ถูกพระปฐมเจดีย์องค์ปัจจุบันสร้างครอบ ยอดฉัตรศิลาของเจดีย์สมัยทวารวดี (คาดว่าน่าจะเป็นรูปแบบเดียวกับยอดของพระประโทน) พระพุทธรูปศิลานั่งห้อยพระบาท ใบเสมาหิน ธรรมจักรและกวางหมอบหินทรายแกะสลัก ฯลฯ จากหลักฐานต่างๆ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากชนชาติมอญ และอินเดียสมัยคุปตะ

         2.ศิลปะสมัยศรีวิชัย  พ.ศ.13-18
    มี ความเจริญอยู่ตอนใต้ของประเทศไทย จากหลักฐานที่ค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุ มีมากอยู่ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย ศิลปกรรมที่พบในประเทศไทย ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระบรมธาตุไชยา ฯลฯ นอกประเทศไทยส่วนใหญ่พบบนเกาะสุมาตรา ได้แก่ มหาเจดีย์บุโรพุทโธ
 
         3. ศิลปะสมัยขอมลพบุรี     พ.ศ.16-18 
       มีความเจริญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง(ลพบุรี, ละโว้) และภาคเหนือตอนบน(สุโขทัย, เชลียง)ของประเทศไทย เป็นงาน
ศิลปกรรม ที่ได้รับอิทธิพลจากขอม ในประเทศกัมพูชา มีงานด้านสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า"ปราสาท" สร้างจากหินทรายหลายแห่งด้วยกัน เช่น ปราสาทพระปรางค์สามยอด ที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา ปราสาทเขาพนมรุ้ง บุรีรัมย์ ฯลฯ

      ช่วงศิลปะยุคประวัติศาสตร์ชาติไทย
เป็นช่วงศิลปกรรมบ่งบอกความเป็นไทยได้ชัดเจน

   4. ศิลปะสมัยเชียงแสน - หริภุญชัย - ล้านนา  พ.ศ.16-20
      เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทย ศิลปะล้านนา ศิลปะบางส่วนได้รับอิทธิพลจากอินเดีย แต่เริ่มมีลักษณะของความเป็นไทย การสร้างพระพุทธรูป มีพระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลม พระหนุเป็นปม พระอุระนูน พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม งานทางด้านสถาปัตยกรรม มีการสร้างสถูปเจดีย์มากมาย สถาปัตยกรรมสมัยเชียงแสน ได้แก่ เจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด วัดป่าสัก เชียงแสน เชียงราย   สมัยหริภุญชัยได้แก่ สถูปจามเทวีหรือกู่กุด เจดีย์แปดเหลียมเจดีย์ วัดจามเทวี ลำพูน เป็นต้น สมัยล้านนา ได้แก่เจดีย์วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน เจดีย์ทรงปราสาทวัดเจดีย์หลวง เจดีย์วัดสวนดอก เชียงใหม่ ฯลฯ

   5. ศิลปะสมัยสุโขทัย  พ.ศ.18-20
       มีความเจริญอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย มีศิลปะไทยที่จัดว่างดงามมากที่สุดสมัยหนึ่งเกิดขึ้นอย่างมากมาย เช่น พระพุทธรูปปางลีลา การสร้างมณฑปพระอัจนะ วิหารโถงเสาศิลาแลง  หลังคาโครงสรางไม้เครื่องมุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ เจดีย์ทรงระฆังมีช้างล้อม เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์เอกลักษณ์ของสุโขทัย ตลอดทั้งงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก เรียกได้ว่าเป็นยุค CLASSIC ART ของไทย

6. ศิลปะสมัยอู่ทอง  พ.ศ.17-20
                ศิลปกรรมในสมัยนี้มีความเจริญอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ค้นพบมากที่จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม ชัยนาท ลพบุรี และอยุธยา ศิลปกรรมที่ค้นพบ เช่น พระพุทธรูปที่มีพระนลาฏกว้าง โบสถ์ วิหาร ปรางค์ และเจดีย์ทรงระฆังที่มีลักษณะขององค์ระฆังยาวคล้ายกระบอก

    7. ศิลปะสมัยอยุธยา พ.ศ.19-23
       ได้ค้นพบงานศิลปกรรมมากมายหลายประเภท งานจิตรกรรม เขียน
เกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติ เรื่องชาดก มีการก่อสร้างวัดต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น วัดพระศรีสรรเพชญ์ที่มีพระเจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยา(มีเสาหาร)ขนาดใหญ่สามองค์ที่สร้างในแนวเดียวกันคั่นด้วยพระอุโบสถ วัดพุทธไธสวรรค์ วัดมหาธาตุวัดราชบูรณะ วัดไชยวัฒนารามที่มีผังและรูปแบบคล้ายปราสาทขอม ฯลฯ การสร้างสถูป เจดีย์ พระปรางค์ งานศิลปะได้รับอิทธิพลจากสมัยขอมลพบุรี สุโขทัย และอยุธยาตอนปลายได้รับอิทธิพลจากจีน จากตะวันตก

8. ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์  พ.ศ.23-ปัจจุบัน
   งานศิลปกรรมตอนต้นส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลสกุลช่างสมัยอยุธยา(วิหารวัดพระแก้วและเจดีย์ทรงเครื่อง) เป็นการรวบรวมงานศิลปกรรมแต่ละยุคแต่ละสมัยมาเก็บไว้ ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีจิตรกรที่ชื่อขรัวอินโข่ง ได้เขียนภาพที่ใช้แนวคิดทางจากทางตะวันตกเข้ามาผสมกับศิลปะไทยเป็นครั้งแรก คือภาพจะมีความลึก มีแสงเงา ไม่แบนๆเหมือนสมัยก่อน   ในงานประติมากรรมศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นประติมากรจากอิตาลีที่ได้มาสร้างผลงานไว้มากมาย เช่น อนุสาวรีย์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 อนุสาวรีย์คุณหญิงโม ฯลฯ และงานศิลปกรรมต่อๆมาก็ได้รับอิทธิพลจากนานาชาติจนถึงปัจจุบัน







credit by www.dek-d.com